วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

สัญญาซื้อขายแบ่งออกเป็น3ประเภท

สัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 456
แบ่งออกเป็น4ประเภทใหญ่ๆ อันได้เเก่
456 วรรค 1  สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
456 วรรค 2  สัญญาจะซื้อจะขาย - คำมั่นในการซื้อขาย
456 วรรค 3  ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
แต่ที่จะอธิบายภายในเนื้่อหาของ blog นี้ มี 2 ประเด้น คือ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะซื้อจะขาย เพราะเป็นประเด็นที่นักศึกษาวิชากฏหมายชอบที่จะศึกษามาก

 
การแบ่งประเภทสัญญาซื้อขายนั้นเป็นประเด้นที่น่าสงสัยเเละยากที่จะทำความเข้าใจ
 

ประเด็นที่ 1 จะขออธิบาย สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง วางหลักว่า
“การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”
 
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ สัญญาซื้อขายที่ตกลงกันเสร็จสินเเล้วคู่สัญญาไม่ประสงค์ที่จะไปทำร่วมกันอีกหรือไม่มีอะไรที่ต้องทำต่อกันอีก อาจจะเหลือเพียงแต่การที่ผู้ซื้อจะต้องส่งมอบเงินให้เเก่ผู้ขาย หรือชำระหนี้ที่ตนเองได้ก่อให้แก่ผู้ขายและผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบของให้ผู้ซื้อหรือเรียกอีกอย่างว่าต่างฝ่ายต่างได้ชำระหนี้ให้
 
แต่ก็มีขอยกเว้นบางประการสำหรับอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
ได้เเก่ เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะ จำพวกนี้ต้องมีการไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน หากไม่ไปจดทะเบียนการซื้อขายจะเป็นการฤซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเเต่ผลเป็นโมฆะ หรือเปรียบเหมือนไม่มีการทำสัญญาเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์จะไม่โอนไปยังผู้ซื้อ
 
 
 
 
สัญญาซื้อขายเสร็จเด้ดขาด มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ทันทีที่ทำสัญญา

1 สังหาริมทรัพย์
- ราคาไม่เกิน 20000 แม้ไม่มีหลักฐานฟ้องร้องเป็นหนังสือ หรือ เช่นการวางมัดจำ การชำระหนี้บางส่วนก็สามารถที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
- ราคาตั้งเเต่ 20000 บาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานฟ้องร้องที่ทำเป็นหนังสือ หรือการจ่ายหนี้บางส่วนหรือไม่มว่าจะเป็นการวางมัดจำ ก็จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้
 
2 อสังหาริมทรัพย์/สังหาริมทรัพย์พิเศษ
-ถ้าทำเป็นหนังสือจดทะเบียน ผลจะเป็นสมบรูณ์บังคับกันได้
-ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียน ผลจะเป้นโมฆะหรือเสียเปล่าไม่สามารถที่จะบังคับกันได้ตามสัญญา
 
 
 

 

สาระสำคัญของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

1.ทรัพย์สินที่มีตัวตนแน่นอนแล้ว(Existing goods) เช่น นายแดงทำสัญญาซื้อปากกานายนายดำ ในขณะทำสัญญาต้องมีปากกาที่จะซื้ออยู่แน่นอนแล้ว
2.ผู้ขายมีสิทธิจะโอนกรรมสิทธิไปยังผู้ซื้อได้ทันทีที่มีการตกลงทำสัญญากัน
 3.ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายจนเป็นการแน่นอน
4.แม้ตัวผู้ซื้อเองจะยังไม่มีเงินมาชำระราคาครบถ้วนหรือว่า ผู้ขายจะยังไม่ได้ส่งมอบของ ก็เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว 
5.ต้องมีการตกลงกันเสร็จเด็ดขาดไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมอีก ถึงแม้ตามกฎหมายจะมีแบบให้ไปทำตามหรือบังคับให้ทำอีกก็ตาม หรือ คู่สัญญาไม่ต้องการจะไปทำอีกเเล้ว
 
 

ประเด็นที่ 2 จะขออธิบายสัญญาจะซื้อจะขาย

 
 


 
มาตรา 456 วรรคสอง บัญญัติว่า อนึ่ง สัญญาจะขายหรือจะซื้อทรัพย์สินอย่างใดๆ...ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำ(มัดจำ)ไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
               
 หมายถึง สัญญาซื้อขายประเภทหนึ่ง ที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงต่อกันว่าจะไปทำสัญญาซื้อขายให้สำเร็จโดยการทำตามแบบที่กฏหมายได้กำหนดไว้ต่อเจ้าพนักงาน

เกณฑ์ของการทำสัญญาจะซื้อจะ

 1.ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ที่ต้องรับผิด

 2.ได้วางมัดจำเอาไว้  

  3.ได้มีการชำระหนี้บางส่วน

   ******ถ้าไม่มีหลักฐานตามข้อความด้สนบนหรือไม่ทำตามข้อความข้างต้นจะฟ้องร้องให้บังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้*****

 

 

 

 

 

จึงอาจสรุปลักษณะของสัญญาซื้อขายได้ดังนี้

 

1.มีการตกลงทำสัญญาซื้อขาย

 2.กรรมสิทธิของสัญญายังไม่ได้ส่งไปยังผู้ซื้อเพราะยังไม่ได้มีการไปทำตามแบบของกฏหมาย

3.มีการตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้า

4.สัญญาจะซื้อจะขายมีได้แต่เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์ เท่านั้น

 

 

  สรุป

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น